เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ภาพประกอบจาก http://kc.hri.tu.ac.th |
มุมมองเกี่ยวกับภาษาสก๊อยของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวถึงภาษาสก๊อยว่า ภาษาสก๊อย หากมองบวกก็เป็นการพัฒนาภาษาแบบสนุก แต่อีกด้านแสดงให้เห็นว่า เป็นคนรู้คำน้อย อ่านหนังสือน้อย
วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ได้กล่าวถึงประเด็นร้อน "ภาษาสก๊อย" ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ หลังมีกลุ่มวัยรุ่นสื่อสารทางโลกออนไลน์ ด้วยภาษาที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักความถูกต้องของภาษาไทย โดยเฉพาะในเพจเฟซบุ๊กที่ชื่อแฟนเพจว่า "ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย" ซึ่งมีผู้คนกดไลค์มากกว่า 16,000 คน และเป็นช่องทางสื่อสารภาษาเพี้ยนๆ กันอย่างมากมายเลยทีเดียว
ทั้งนี้ นายเนาวรัตน์ ได้กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวหากมองได้หลายด้าน เป็นเพราะภาษาเป็นการสื่อสารที่มนุษย์เข้าใจร่วมกัน หากจะมองในด้านบวก ก็เป็นการพัฒนาของภาษาให้เป็นลูกเล่น แบบถอดรหัสเล่นสนุก เป็นการสื่อสารระหว่างกัน แต่หากมองในด้านลบ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นคนรู้คำน้อย อ่านหนังสือน้อย จึงต้องมาสร้างคำใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงในระยะยาว เพราะว่าการที่คนจนต่อถ้อยคำนั้นมีผลต่อความคิด
ด้านผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน ได้กล่าวว่า ได้ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น ซึ่งหลังจากได้ทดลองอ่านภาษาสก๊อยกันแล้ว ก็อ่านไม่รู้เรื่อง ตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่า การสื่อสารของวัยรุ่นในลักษณะนี้จะมีผลอย่างไรหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้ใช้อย่างถูกบริบท และไม่ควรนำไปใช้ทางการหรือใช้กับผู้ใหญ่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สำนักข่าวไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ได้กล่าวถึงประเด็นร้อน "ภาษาสก๊อย" ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ หลังมีกลุ่มวัยรุ่นสื่อสารทางโลกออนไลน์ ด้วยภาษาที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักความถูกต้องของภาษาไทย โดยเฉพาะในเพจเฟซบุ๊กที่ชื่อแฟนเพจว่า "ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย" ซึ่งมีผู้คนกดไลค์มากกว่า 16,000 คน และเป็นช่องทางสื่อสารภาษาเพี้ยนๆ กันอย่างมากมายเลยทีเดียว
ทั้งนี้ นายเนาวรัตน์ ได้กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวหากมองได้หลายด้าน เป็นเพราะภาษาเป็นการสื่อสารที่มนุษย์เข้าใจร่วมกัน หากจะมองในด้านบวก ก็เป็นการพัฒนาของภาษาให้เป็นลูกเล่น แบบถอดรหัสเล่นสนุก เป็นการสื่อสารระหว่างกัน แต่หากมองในด้านลบ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นคนรู้คำน้อย อ่านหนังสือน้อย จึงต้องมาสร้างคำใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงในระยะยาว เพราะว่าการที่คนจนต่อถ้อยคำนั้นมีผลต่อความคิด
ด้านผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน ได้กล่าวว่า ได้ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น ซึ่งหลังจากได้ทดลองอ่านภาษาสก๊อยกันแล้ว ก็อ่านไม่รู้เรื่อง ตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่า การสื่อสารของวัยรุ่นในลักษณะนี้จะมีผลอย่างไรหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้ใช้อย่างถูกบริบท และไม่ควรนำไปใช้ทางการหรือใช้กับผู้ใหญ่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สำนักข่าวไทย